Alternative
เขียนเมื่อ 9 พ.ค.2551 16:47 น.
คำว่า"Alternative"ไม่ได้มาจากคำว่า"เอาเธอมาถีบ" ตามความเข้าใจ ของพวกซกมกแอบจิต บางคนหรอกน๊ะ ครับ แต่"Alternative"แปลว่า"ทางเลือกครับผม"แล้ว แนวดนตรี"Alternative"มันเป็นจังใด๋หนอ....?อันนี้ ถ้าคุณถามผม ผมก้จะตอบแบบกำปั้นทุบดินไปเลยว่า ก้คำมันแปลมายังไงไอ้แนวดนตรีมันก้เป็นแบบนั้นแหละ หวะพวก!!!! เพราะฉนั้นแนวอัลเทอร์เนทีฟ มันจะต้องไม่เป็นดนตรีในกระแสหลักณ.ตอนนั้นเวลานั้นแน่ ส่วนมันเกิดขึ้นมาตังแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นคนริเริ่ม อันนี้ต้องไปถาม Oasis สมายบัฟฟาโล่ และคุณพี่Audy พี่โอ๋ เสกสรร และท่านน้าThe must และป๋า ป๊อด โมเดิรนด็อก ลุง ป้าง ผู้ชายร้องไห้กันแล้วหละครับ ส่วนตัวผมแล้ว ผมว่าSilly foolsก้ใช่น๊ะครับ Steriohead ด้วย(เขียนถูกเขียนผิดอย่าว่ากันน๊ะ)พอดีตกเลขอะ ผมก้รู้คร่าวๆ แค่ว่ามันมาแทรกระหว่าง ยุดกีตาร์ฮีโร่ กับ ยุดกีตาร์เด็กแนว แค่นั้นแหละครับ นอกนั้นไม่รู้เลยครับส่วนเรื่องซาวด์ของดนตรี ก้แน่นอน ในเมื่อมันเป้นดนตรีทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นซาวด์หรือการเล่น มันก้ต้องเป็นทาง เลือกให้กลุ่มคนฟังใหม่ๆแน่นอนอยู่แล้วที่มันจะไม่เหมือนกับดนตรีในกระแส ในขณะนั้น แต่ก้มีคนมาวิจารณ์มากมายอีกนั้นแหละ ว่ากระจอกบ้างซาวด์ไม่ได้มาตรฐานบ้าง เล่นไม่เก่งบ้าง แต่สิ่งที่ดนตรีแนวนี้ได้สร้างสรรค์และจรรโลงความงดงาม และประทับตราประดับพื้นโลกใบนี้เอาไว้ก้คือ ความสดแปลกใหม่และเก๋ไก๋ จนฮิปปี้ยังเหลียวหลังกลับมามองนั้นเอง55+และแถมยังสามรถครอบครองใจนักดนตรี และลบคำสปมารถเรื่องฝีมือ ด้วยการโชว์ความเหนือไว้ในบทเพลงของเค้าเล่านั้นด้วย ซึ่งหากคุณลองฟัง ก้จะถามกับตัวเองทันทีว่า"แม่งคิดได้ไงว๊ะ โครตล้ำเลย?"ในปัจจุบัน ดนตรีแนวนี้ก้ยังคงอยู่ แล้วก้ยังอยู่มาเรื่อย เพราะมันคือ ดนตรี ซึ่งในยุทธจักรของหนทางสรรพเสียงเพลงแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่จะมีสิ่งแปลกใหม่เกิดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา เพราะฉนั้น สรุปๆ "Alternative"ก้คือคำๆ1ที่ถูกใช้เรียกแนวเพลงหรือแนวดนตรีที่ผุดขึ้นมา ท่ามกลาง ช่วงเวลาและวงล้อม ของแนวเพลงในกระแสที่เกร่อกระ และซ้ำซากอยู่ในขณะนั้น นั่นเอง !!!จบข่าวครับ!!! ปล:นี้เป็นความเข้าใจของผมอีกเช่นเคย ไม่ต้องมาเถียง กับผม เพราะผมไม่ปัญญาจะเถียงสู้ใคร คุณเข้าใจของ คุณแบบใหนก้เรื่องของคุณ แต่ผมเข้าใจของผมแบบนี้ อะ ใครจะทำมัย หรือจะเอาคร๊าบบบ!!!!!
อัลเทอร์เนทีฟ (Alternative อาจเรียกเต็ม ๆ ว่า อัลเทอร์เนทีฟร็อก หรือในสหราชอาณาจักรเรียกว่า อีนดี้) เป็นแนวเพลงร็อก แขนงหนึ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 80 และ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทศวรรษที่ 90 คำว่าอัลเทอร์เนทีฟถูกคิดขึ้นในทศวรรษที่ 80 อธิบายถึงแนวเพลงได้รับแรงบันดาลใจจากพังค์ร็อก โดยอยู่ค่ายเพลงอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสนิยมในช่วงเวลานั้น ในความหมายทางด้านดนตรี อัลเทอร์เนทีฟประกอบด้วยเพลงหลาย ๆ แนวรวมกันทั้ง กรันจ์,บริทป็อป,กอธิคร็อก และ อินดี้ป๊อป ที่รวมกันโดยลักษณะพื้นฐานของพังค์ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีอัลเทอร์เนทีฟร็อกในทศวรรษที่ 70
ย้อนกลับไปราว ๆ ต้นยุค 90 กระแสความนิยมของตนตรีที่เรียกว่า Alternative (อัลเทอร์เนทีฟ) กระจายไปทั่วทุกหัวระแหง่อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นแฟชั่น กลายเป็นดนตรีแห่งยุคสมัย ในขณะที่อัลเทอร์เนทีฟได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจความหมายของดนตรีแนวนี้แบบผิด ๆ บางคนที่บอกว่าตัวเองชื่นชอบอัลเทอร์เนทีฟกลับตอบไม่ได้ว่าอัลเทอร์เนทีฟคืออะไรกันแน่
คำว่า อัลเทอร์เนทีฟ เริ่มถูกนำมาใช้ในช่วงยุค 80 กับวงดนตรีจากค่ายอินดี้ทั้งหลายที่ได้แรงบันดาลใจมาจากดนตรีพั้งก์ร็อคช่วงเวลาดังกล่าวมีวงดนตรีหลาย ๆ ถูกจัดให้เป็น อัลเทอร์เนทีฟร็อค และด้วยความที่ยุค 80 เป็นช่วงเวลาที่ดนตรีอินดี้เบ่งบานสุดนี่เอง เลยทำให้ อัลเทอร์เนทีฟร็อค ขยายขอบเขตออกไปแบบไร้ขีดจำกัดด้วยแนวดนตรีใหม่ ๆ เช่นกรั๊นจ์, บริทป๊อป, โกธิคร็อค, อินดี้ป๊อป, ดรีมป็อป, ซูเกเซอร์เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเริ่มต้นมาจากความเป็น อัลเทอร์เนทีฟร็อค แต่ความเป็นจริงแล้ว อัลเทอร์เนทีฟไม่ได้ยึดติดอยู่กับแค่ร๊อคอย่างเดียว แต่คำว่า อัลเทอร์เนทีฟ มีความหมายที่กว้างมาก เพราะมันยังครอบคลุมไปถึงงานดนตรีต่าง ๆ ที่เป็น ทางเลือก ทั้งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ หรือเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วกลับมาทำใหม่จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น Bjork ที่งานของเธอได้รับอิทธิพลจากทั้งแจ๊ช, ทริปฮอฟ และ อิเล็คโทรนิก้า หรืออัลบั้ม Odelay (1996) ของ Beck ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างดนตรีร็อค, อิเล็กโทร, ฮิฟฮอพ, โฟล์ค, ไซคีเดลิค, แจ๊ซ, บลูส์, อีซีลิสเซนนิ่ง และคันทรี่ ก็ถูกเรียกว่า อัลเทอร์เนทีฟ เช่นกัน
เมื่อมองกลับไปที่จุดเริ่มต้น คำว่า อัลเทอร์เนทีฟ น่าจะเกิดขึ้นในวงการเพลงฝั่งอเมริกา โดยแรกเริ่มมีการใช้คำว่า College Rock (หรือ College Sound) ก่อน ซึ่งหมายถึงดนตรีช่วงยุค 80 ที่ถูกเอาไปเปิดในสถานีวิทยุตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลังจากที่ได้รับความนิยมอย่างสูงตามมหาวิทยาลัยทั้งหลายแล้ว ดนตรี College Rock ก็เริ่มถูกเอาไปเปิดตามสถานีวิทยุปกติ โดยวงดนตรีแนวนี้วงแรก ๆ ที่มีชื่อเสียงขึ้นมาในช่วงนั้นก็คือ R.E.M จากวงอินดี้เล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักของเด็กมหาวิทยาลัย พวกเขาก็ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จในระดับเมนสตรีม ดีเจตามสถานีวิทยุทั้งหลายในอเมริกาเริ่มนำเอาเพลงประเภทนี้มาเปิดจนกลายเป็นดนตรีในกระแสหลัก เมื่อ College Rock เป็นที่รู้จักมากขึ้น สถานีวิทยุต่าง ๆ ก็เริ่มหาคำจำกัดความใหม่ให้กับ Colleg Rock ซึ่งภายหลังถูกเหมารวมให้เป็นแนวดนตรีแขนงหนึ่งของ อัลเทอร์เนทีฟ ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้นำคำว่า อัลเทอร์เนทีฟ มาใช้เป็นคนแรก แต่มีข้อมูลจากหลายแห่งที่ระบุคล้ายๆ กันว่าสถานีวิทยุ KROQ FM ในลอส แองเจิลลีส คือสถานีที่ทำให้ดนตรีอัลเทอร์เนทีฟ เป็นที่รู้จักไปทั่วอเมริกาในช่วงปี 1991 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวดนตรีอัลเทอร์เนทีฟก็ได้รับความนิยมมาก จนต้องการเพิ่มรางวัลสาขาอัลเทอร์เนทีฟลงไปใน แกรมมี่อะวอร์ดส์ และ เอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิค อะวอร์ดส์ รวมทั้งทัวร์คอนเสิร์ต Lollapalooza ที่มาพร้อมกับสโลแกนประจำงานว่า Alternative Nation ของ Perry Farrell นักร้องนำวง Jenes Addiction เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นและประสบความสำเร็จอย่างสูงเสียด้วย
ข้ามมาดูทางฝั่งอังกฤษบ้าง ทางอังกฤษจะนิยมไม่เรียกดนตรีประเภทนี่ว่าอัลเทอร์เนทีฟ แต่จะเรียกว่า อินดี้ ช่วงปี 1985 คำว่าอินดี้ถูกนำมาใช้เป็นคำจำกัดความของวงต่าง ๆ ที่ทำดนตรีซึ่งเป็นทางเลือกใหม่เช่นก็อธร็อค, ก็อธพั้งก์, โพสต์-พั้งก์ และไซคีเดลิค คล้าย ๆ กับฝั่งอเมริกาวงดนตรีแนวนี้ในอังกฤษจะเริ่มต้นจากการเป็นวงอินดี้ ก่อนที่จะโด่งดังจนถูกค่ายใหญ่ ๆ จับมาเซ็นสัญญา โดยช่วงกลางยุค 80 ดนตรี อินดี้ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายจากสถานีวิทยุต่าง ๆ เช่นรายการของ John Peel ทาง BBC Radio 1. ดีเจ Richard Skinner และ Annie Nightingale
วงดนตรียุคแรกของอัลเทอร์เนทีฟ
R.E.M The Feelies, Violent Femmes คือวงอัลเทอร์เนทีฟยุคแรกในอเมริกา ดนตรีของพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากวงพั้งก์รุ่นแรก ๆ (ที่มีความเป็นอาร์ตร็อคผสมอยู่เช่น Talking Heads, Television, Stooges หรือ The Velvet Underground) บวกกับดนตรีแบบเมนสตรีมอย่างคันทรี่และโฟล์ค ซึ่ง R.E.M. คือวงดนตรีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเมื่อเยบกับอีกสองวง อัลบั้ม Murmur (1983) ขั้นถึงท๊อป 40 ในอเมริกาจนทำให้วงดนตรีแนวนี้ผุดขึ้นมามากมายหลังจากนั้น
อีกด้านหนึ่งค่ายอินดี้ในอเมริกาอย่าง SST Records, Twin/Tone Records, Touch & Go Records และ Dischord Records มีงานแนวฮาร์ดคอร์พั้งก์ออกมาหลายประดับวงการเพลงใต้ดินอเมริกาหลายชุด และหลาย ๆ วงก็ต้องปรับตัวไปตามกระแสนิยมของดนตรีอัลเทอร์เนทีฟที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นอัลบั้ม Zen Arcade ของ Husker Du และ Let lt Be ของ The Replacement ที่ออกมาเมื่อปี 1984 ก็ถูกจัดให้เป็นงานอัลเทอร์เนทีฟ ในปีเดียวกันค่าย SST Records ก็มีงานที่ได้รับยกย่องว่าเป็นอัลบั้มอัลเทอร์เนทีฟชุดสำคัญออกมาหลายชุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลบั้มของ The Minutemen และ The Meat Puppets ที่เป็นส่วนผสมกันของดนตรีพั้งก์, ฟั้งก์ และคันทรี่
ในช่วงปลายยุค 80 วงการเพลงอันเดอร์กราวน์และคอลเลจเรดิโอทั้งหลายในอเมริกาแทบจะถูกกลืนไปทั้งหมดด้วยเพลงของวงอย่าง The Pixies, They Might Be Giants, Camper Van Beethoven, Dinosaur Jr. Throwing Muses, The Breeders นอกจากนั้นช่วงเวลาดังกล่าวยังมีวงนอยซ์ร็อคถือกำเนิดขึ้นมาอีกหลายวงเช่น Sonic Youth, Big Black, Butthole Surfers
ก่อนจะสิ้นสุดยุค 80 วงอัลเทอร์เนทีฟหลาย ๆ วงเริ่มไปเซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ในขณะที่ Husker Du และ The Replacements ไม่สบความสำเร็จเท่าไหร่ แต่วงอย่าง R.E.M. และ Janes Addiction The Pixies, Dinosaur Jr. กลับประสบความสำเร็จอย่างงดงามในระดับเมนสตรีม
นอกจากนี้ช่วงปลายยุค 80 ยังมีแนวดนตรีที่เรียกว่า โล โฟ เกิดขึ้นมา ซึ่งเริ่มต้นมาจากวงใต้ดินทั้งหลายที่มีข้อจำกัดในเรื่องเงินทุนและเครื่องไม้เครื่องมือ ลงมือทำอัลบั้มด้วยการบันทึกเสียงกันแบบง่าย ๆ ด้วยอุปกรณ์เท่าที่มีอยู่ ทำให้ซาวนด์ที่ออกมาฟังดูไม่เนี้ยบ แต่จะดิบ สด กระด้าง ๆ ซึ่งฟังดูมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไปอีกแบบ ตัวอย่างของวงนี้ก็มีอย่าง Guided by Voices, The Apples in Stereo, Sebadoh และ The Olivia Tremor Control เป็นต้น
พอมาถึงช่วงต้นยุค 90 ก็เกิดรูปแบบดนตรีขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า Riot Grrrl ซึ่งเป็นวงพั้งก์ที่มีสมาชิกหญิงล้วน โดยมากวงพวกนี้จะมีแนวคิดแบบเฟมินิสต์เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่กับเรื่องการเมือง, การถูกคุกคามทางเพศ และเรื่องเซ็กส์ ที่รวมถึงเรื่องราวแบบเลสเบี้ยนด้วย ตัวอย่างของวงแนวนี้ก็มีอย่าง Sleater Kinney, Babes in Toyland, Bikini Kill, Bratmobile, Heavens to Betsy, Huggy Bear และ L7
ความจริงดนตรี กรั๊นจ์ ถือกำเนิดขึ้นมาในซีแอ๊ตเทิ่ลตั้งแต่ช่วงกลางยุค 80 แล้ว แต่มาบูมสุด ๆ เอาตอนช่วงต้นยุค 90 เมื่อมันก้าวสู่การเป็นดนตรีกระแสหลัก ปี 1991 ดูดเหมือนว่าดนตรีอัลเทอร์เนทีฟในอเมริกาแทบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกรั๊นจ์เลยก็ว่าได้ มีอัลบั้มสำคัญ ๆ ออามาไล่เลี่ยกันในช่วงเวลาในทั้ง Nevermind ของ Nirvana, Ten ของ Pearl Jam และ Badmotorfinger ของ Red Hot Chili Pappers เท่านั้นซึ่งไม่ใช่งานแนวกรั่นจ์ที่สามารถเบียดเข้ามาแบ่งตลาดไปได้ และด้วยความสำเร็จแบบถล่มทลายของอัลบั้ม Nevermind นี่เองที่ทำให้ดนตรีอัลเทอร์เนทีฟเข้าสู่วงการเพลงเมนสตรีมแบบเต็มตัว ทั้งจากการสร้างกระแสของ MTV และทัวร์คอนเสิร์ต Lollapalooza ที่เป็นพื้นที่สำคัญให้วงดัง ๆ หลายวงได้แจ้งเกิดเช่น Nine lnch Nails, The Smashing Pumpkins และ Hole
ช่วงเวลาดังกล่าวคำว่า อัลเทอร์เนทีฟ ได้ก้าวสู่การเป็นแฟชั่น เป็นกระแสที่เห่อตาม ๆ กันไปซะแล้ว ค่ายเพลงต่าง ๆ มองคำว่า อัลเทอร์เนทีฟ เป็นเงินเป็นทองไปหมดเป็นเหตุให้ความหมายของอัลเทอร์เนทีฟเริ่มผิดเพี้ยนจนออกนอกลู่นอกทาง ค่ายเพลงใหญ่ ๆ ทั้งหลายใช้คำว่าอัลเทอร์เนทีฟอย่างพร่ำเพรือโดยหวังแค่ว่างานชุดนั้นจะทำยอดขายสูง ๆ เท่านั้น ศิลปินป็อปร็อคบางกลุ่มบางคนเช่น Alanis Morissette และ Hootie & the Blowfish ถูกเรียกว่าอัลเทอร์เนทีฟ วงป็อปพั้งก์อย่าง Green Day และ The Offspring ถูกเหมารวมให้เป็นอัลเทอร์เนทีฟ แม้กระทั่งศิลปินโฟล์ค Tracy Chapman หรือวงเมทั่ลอย่าง Living Colour ก็ยังถูกเรียกว่าอัลเทอร์เนทีฟ ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้มีวงจำนวนหนึ่งที่ยังคงต้องการออกงานกับค่ายอินดี้ และพอใจที่จะเรียกตัวเองว่า อีนดี้ร็อค มากกว่าตราแผ่นเสียงอย่าง Matador Records, Merge Fecords และ Dischord ก็ยังคงมีงานของวงอย่าง Pavement, Liz Phair, Superchunk, Fugazi ออกขายเรื่อย ๆ โดยไม่สนใจว่ากระแสในตลาดช่วงนั้นจะเป็นยังไง
จุดเสื่อมถอยของอัลเทอร์เนทีฟ
ดนตรีอัลเทอร์เนทีฟก็ถึงจุดเสื่อมถอย หลังจากการเสียชีวิตของ Kurt Cobain ในปี 1994 หลายวงไม่ได้การต้อนรับจากคนฟังอย่างที่เคยในปี 1998 Lollapalooza ทัวร์ก็ต้องประกาศหยุดพักหลังจากไม่สามารถหาวงมาเล่นเป็นเฮดไลน์ ตามมาด้วยการประกาศยุบวงของหลาย ๆ วงเช่น Nirvana, The Smashing Pumpkins, Soundgarden, Alice in Chains, Rage Against the Machine, Hole เป็นต้น
หลังสิ้นสุดจากยุคกรั๊นจ์แล้ว มีวงอัลเทอร์เนทีฟจากกลางยุค 90 ที่มีออกผลงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันน้อยมาก หนึ่งในนั้นก็คือ Weezer ที่ออกงานชุดแรก Blue Album เมื่อปี 1994 ถึงแม้ ณ ตอนนี้จะเหลือเพียง Rivers Cuomo ที่เป็นสมาชิกดั้งเดิมคนเดียวของวงแต่ก็ยังมีงานของ Weezer ออกมาให้ฟังอยู่เรื่อย ซึ่งล่าสุด Rivers ออกมายืนยันแล้วว่างานชุดใหม่จะวางขายประมาณต้นปี 2008
อัลเทอร์เนทีฟในประเทศไทย
ว่ากันว่าระหว่าง พ.ศ.2537-2540 คือช่วงที่กระแสดนตรีอัลเทอร์เนทีฟและอินดี้ในบ้านเราขึ้นถึงจุดสูงสุด มีสังกัดเพลงน้อยใหญ่รวมกันแล้วกว่าสองร้อยค่าย อาจไม่ใช่ทุกคนที่ทำผลงานออกมาได้รับความนิยม แต่ศิลปินก็มีอิสระในการทำงาน ผู้ฟังก็มีอิสระในการตัดสินใจเลือก ใครใคร่ทำ ทำ ใครใคร่ซื้อ ซื้อ แต่สุดท้าย ยุคทองของอิสระในการสร้างสรรค์ก็สิ้นสุดอย่างรวดเร็วเหมือนพลุที่สว่างวูบแล้วดับไป อะไรเกิดขึ้นในยุคนั้น ยุคที่อัลเทอร์เนทีฟไทยครองเมือง
ผู้บุกเบิก
ปฐมพร ปฐมพรอาจจะไม่ใช่คนแรก แต่คงพอเรียกได้ว่าเป็นศิลปินสายอัลเทอร์เนทีฟในยุคบุกเบิกของไทย เมื่อครั้งที่เจ้าตัวตัดสินใจทำอัลบั้มชุดที่สอง พราย (พ.ศ.2534) ซึ่งมีเนื้อหาแบบบทกวี ผสมกับดนตรีที่มีทั้งความงดงามและเจ็บปวด เช่นเดียวกับการเริ่มใช้สัญลักษณ์แทนชื่อเพลง และที่สำคัญคือการเปลือยกายถ่ายรูปเพื่อสื่อความหมายถึงอิสรภาพ ความเปลี่ยนแปลงชนิดหน้ามือเป็นหลังมือจากชุดแรก ทำให้ปฐมพร ถูกต่อต้านจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม
กระนั้น ก็ยังมีคนบางกลุ่มเชื่อมั่นในความกล้าที่จะแตกต่างของ ปฐมพร จนนำไปสู่อัลบั้มคู่ชุด เจ้าหญิงแห่งดอกไม้ และ เจ้าชายแห่งทะเล ในสังกัด BMG ที่วางตลาดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2536 ที่มี Kenny Jackal มาเป็นโค โปรดิวเซอร์ พร้อมด้วยนักดนตรีฝีมือดีมากมายมาร่วมงาน และหนึ่งในนั้นก็คือ ปรารถนา อรุณรังษี หรือ อ.ปราชญ์ แห่ง Overdrive ในปัจจุบัน
ในช่วงเวลาดังกล่าว ยังอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงร็อคบ้านเรา จากกระแสความแรงของ หิน เหล็ก ไฟ และอีกหลายวงในค่ายใหญ่ ด้านวงการเพลงอินดี้ซึ่งก่อนหน้านั้น มักจะมีเพียงแค่ผลงานในรูปแบบดนตรีเพื่อชีวิตก็เริ่มกล้าที่จะผลิตผลงานในรูปแบบที่แตกต่างออกไป โดยมีหัวหอกอย่าง อัลบั้ม โลกมืด ของ ดอนผีบิน, Exterminate The Respiration ของ Heretic Angels, EP ของ Heavy Mod ชุด ห้ามออกอากาศ (พ.ศ.2537) และ EP เกลียดตุ๊ด ของ ซีเปีย ที่ถูกนิยามไว้บนปกอัลบั้มว่าเป็น Alternative Punk Metal
ด้านอัลเทอร์เนทีฟที่รับอิทธิพลมาจากดนตรีฝั่งอังกฤษในบ้านเราก็ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อ รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ (เบส), วิโรจน์ เสรีศิริขจร (กีตาร์) และ สุหฤฤทธิ์ สยามวาลา (ร้องนำ) รวมตัวกันในชื่อ I Can ทำเพลงภาษาอังกฤษชื่อ Idea ส่งไปที่รายการ Radio Active ของ วาสนา วีระชาติพลี ทางคลื่น 94.0 FM และได้รับเสียงตอรบรับค่อนข้างดี เป็นเหตุให้ทางวงตัดสินใจที่จะทำอัลบั้มออกมา แต่ สุหฤทธิ์ ต้องกลับไปดูแลธุรกิจของครอบครัว เป็นเหตุให้สมาชิกที่เหลือต้องมองหานักร้องนำใหม่ กระทั่งได้ตัว วาสิต มุกดาวิจิตร จากการติดประกาศที่ โดเรมี ร้านเทปเก่าแก่ในย่านสยามสแควร์มารับหน้าที่ร้องนำในนามวง Crub มี View เป็นอัลบั้มชุดแรกและชุดเดียวของวงกับทางค่าย Gecco Music แต่ไม่ประสบความสำเร็จด้านยอดขายเท่าที่ควร แต่กลับมีส่วนช่วยจุดประกายให้กับนักฟังเพลงและนักดนตรีกลุ่มเล็ก ๆ ที่จะขยายตัวไปสู่วงกว้างในเวลาต่อมา
วงดนตรีอัลเทอร์เนทีฟแถวหน้าของประเทศไทย
1. วง Modern Dog
2. เป้ โยคีเพลย์บอย
3. อรอรีย์ จุฬารัตน์
4. สุกัญญา มิเกล
และมีศิลปินในค่ายเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นอีกมากมาย
การเสื่อมถอยของอัลเทอร์เนทีฟในไทย
เมื่อมีขึ้นก็มีกระแสดนตรีอัลเทอร์เนทีฟบูมอยู่ได้ราวสามหรือสี่ปีก็ค่อยๆ ซาลง ด้วยปัจจัยหลายด้าน ผมว่ามันเป็นเหมือนวัฎจักร ก็เหมือนพวกแฮร์แบนด์ที่ดังแล้วจู่ ๆ ก็ตายไปอย่างอัลเทอร์เนทีฟก็เหมือนกัน พอผ่านจุดพีก 4-5 ปี มันก็เริ่มเฟดเอาท์ไป มีดนตรีกระแสใหม่เข้ามา อย่างก่อนหน้านี้ก็มี นูเมทั่ล ตอนนี้ก็มาเป็นอีโม พอถึงจุดนึง มันก็ต้องค่อย ๆ หายไปวัฒนธรรมเรื่องเพลงมันก็เหมือนแฟชั่น เหมือนทฟษฎีโพสต์โมเดิร์น คือการคิดใหม่กว่าคิดว่าตัวเองดีกว่า ก็จะไม่ทำอย่างเดิม ผสมผสานอะไรลงไป ทำให้เจ๋งกว่าเดิม คือทรรศนะจากรอย แกนหลักของ Studen Ugly วงพั้งก์จากยุคอัลเทอร์เนทีฟที่ยังยืนหยัดมาได้จนปัจจุบัน
เศรษฐกิจในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการลอยตัวค่าเงินบาทในสมัยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ค่ายเล็กค่ายน้อยรวมถึงศิลปินอินดี้ไม่สามารถยืนหยัดต่อไปได้
ยุคที่เฟื่องฟูมันเป็นยุคที่เศรษฐกิจดี ส่วนช่วงแผ่วปลาย นักดนตรีอาจจะต้องแยกย้ายกันไปทำงานด้วยเพื่อปากท้อง คือจะมีวงดนตรีน้อยวงที่ทำงานต่อเนื่องแล้วประสบความสำเร็จ คือถ้ายังทำต่อเนื่องผมก็คิดว่าน่าจะสำเร็จได้ อย่างโมเดิร์นด็อก หรือ พาราด็อกซ์
ตุล นักร้องนำของอพาร์ตเม้นต์คุณป้า ให้ความเห็น
สุกัญญา มิเกล ร็อคเกอร์สาวเสียงห้าวที่แจ้งเกิดจากยุคนั้นเช่นกันเสริมว่า ตลาดบนเริ่มรู้ว่ามีคู่แข่งเค้าก็เริ่มหาวิธีการตลาดต่าง ๆ มาใช้ บางทีบริษัทใหญ่ก็แตกออกเป็นบริษัทเล็กเพื่อให้มาดูเป็นอินดี้ เพื่อไม่ให้ตลาดที่เค้าเคยครองมาก่อนโดนแชร์
ในบทสัมภาษณ์ของ วินิจ เลิศรัตนชัย อดีตบอสใหญ่ของ Pirate Radio ก็ให้ความเห็นในทำนองเดียวกันว่าจุดล่มสลายของเพลงอินดี้ในยุคนั้น ผ่านกระบวนการคิดของนายทุนกลุ่มดั้งเดิมมาแล้ว
ทั้ง ๆ ที่ ณ เวลานั้น Major record company เริ่มสะเทือนขายของไม่ได้นะ ต้องยอมรับว่าเงินเขาใหญ่ ทำให้เขาแก้เกมได้โดยกลยุทธ์ทางการตลาด คุมกำเนิดทางสื่อ ซึ่งพอควมคุมได้ ทุกอย่างตามหมดผมฟันธงเลยว่าไม่มีทางที่จะกลับมาเป็นกระแสอัลเทอร์เนทีฟฟีเวอร์เพื่อทำให้ยักษ์ใหญ่ตกใจได้อีก เพราะมันเป็นบทเรียนที่ใหญ่สำหรับเขามันเป็นบทเรียนที่ใหญ่สำหรับเขามันเป็นกรณีศึกษาว่าจะเกิดอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว : เอาข้อมูลมาให้เพิ่มเติมครับเผื่อ่เพื่อนๆทุกคนครับ
อ้างอิง
MUSIC EXPRESS ปีที่ 21 ฉบับที่ 260
www.musicexpress.in.th